รายละเอียดของรายวิชา
คณะ นิติศาสตร์ สาขาวิชา นิติศาสตร์
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
- รหัสและชื่อรายวิชา LA 1023 หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย
- จำนวนหน่วยกิต 3 (3/3-0-0)
- หลักสูตร และประเภทรายวิชา นิติศาสตรบัณฑิต หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ
- ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน ภาคการศึกษาที่ 1 / ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 01
- รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) ไม่มี
- รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) ไม่มี
- ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนาชัย สุนทรอนันตชัย
- อาจารย์ผู้สอนร่วม ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล
- สถานที่เรียน อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงวิวัฒนาการและที่มาของกฎหมาย ระบบกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสตร์แขนงต่าง ๆ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างกฎหมาย
1.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักผู้ทรงสิทธิในกฎหมาย ประเภทของสิทธิ การใช้สิทธิ การเปลี่ยนแปลง การโอนและการระงับซึ่งสิทธิ หลักฐานแห่งสิทธิที่เชื่อมโยงกับหลักพื้นฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4-14 ได้
2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course-level Learning Outcomes: CLOs)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในรายวิชา สามารถ
2.1 อธิบายวิวัฒนาการและที่มาของกฎหมาย เปรียบเทียบระบบกฎหมายและประเภทของกฎหมาย และสามารถยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้
2.2 อธิบายและยกตัวอย่างหลักการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างกฎหมายได้
2.3 อธิบายหลักผู้ทรงสิทธิในกฎหมาย ประเภทของสิทธิ การใช้สิทธิและความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ตลอดจนหลักฐานแห่งสิทธิ โดยยกตัวอย่างหรือประยุกต์กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4-14 ได้
2.4 ใช้ทักษะการพูดและการเขียนในการอธิบาย เปรียบเทียบ ยกตัวอย่าง และสรุปประเด็นความรู้ที่เรียน ตลอดจนนำเสนอได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ
2.5 ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าได้อย่างเหมาะสม และสามารถเชื่อถือได้
2.6 ปฏิบัติตนและแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในความเป็นพลเมือง เคารพและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และมีจิตอาสาเพื่อส่วนรวม
3. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา เพื่อเพิ่มเติมจุดมุ่งหมายรายวิชา และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชาให้ชัดเจน ที่สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอน ตลอดจนการนำไปใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้
หมวดที่ 3 ส่วนประกอบของรายวิชา
1. คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย วิวัฒนาการ หลักพื้นฐานของกฎหมาย ความสัมพันธ์ของวิชากฎหมายกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ การใช้และการตีความกฎหมาย การอุดช่องว่างกฎหมาย หลักผู้ทรงสิทธิในกฎหมาย ประเภทของสิทธิ การใช้สิทธิ การเปลี่ยนแปลง การโอนและการระงับซึ่งสิทธิ หลักฐานแห่งสิทธิ หลักสำคัญในกฎหมายลักษณะต่าง ๆ
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเรียนการสอน/ภาคการศึกษา บรรยาย 45 ชั่วโมง
3. วันเวลาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการเป็นรายบุคคล
ติดต่อในวันเวลาที่เรียน ที่คณะนิติศาสตร์ อาคารหอประชุม
หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
การพัฒนาผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน ให้ข้อมูลในแต่ละด้าน ดังนี้
1) ความรู้หรือทักษะที่รายวิชามุ่งหวังที่จะพัฒนานักศึกษา ซึ่งต้องสอดคล้องกับที่ระบุในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
2) ระบุวิธีการสอนที่ใช้ในการพัฒนาความรู้/หรือทักษะใน ข้อ 1
3) ระบุวิธีวัดและประเมินผลรายวิชาที่สอดคล้องกับประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละด้าน
1. คุณธรรม จริยธรรม
(1) คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
– มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ได้แก่ จรรยาบรรณวิชาชีพนักกฎหมาย (1.1)
– มีคุณธรรม6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู และดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาขยันและอดทนต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานหรือการดำเนินชีวิต ปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษามีเมตตาต่อ ซื่อสัตย์ กตัญญู ในด้านการทำงานและการ ใช้ชีวิต เป็นต้น (1.2)
– แสดงออกถึงความมีวินัย กล้าหาญ ความรับผิดชอบ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม เช่น การสร้างความตระหนักรู้ที่จะมุ่งมั่นรักษาความเป็นธรรม โดยยกตัวอย่างบุคคลต้นแบบ เป็นต้น (1.3)
– เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม เช่น การสร้างวัฒนธรรมตรงต่อเวลา เคารพระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบการสอบ เป็นต้น (1.4)
– เห็นคุณค่าตนเอง เข้าใจ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เป็นต้น (1.5)
(2) วิธีการสอน
– เน้นการอภิปราย ซักถาม ระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในด้านต่าง ๆ ที่นักศึกษาพึงมีในเนื้อหาที่เรียน
– มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ยกประเด็นของคุณธรรมและจริยธรรม มาอภิปรายในชั้นเรียน
– กำหนดเวลาในการเข้าชั้นเรียนอย่างชัดเจน
(3) วิธีการประเมินผล
– สังเกตและประเมินผลจากพฤติกรรมในชั้นเรียน
– การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน และการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน
2. ความรู้
(1) ความรู้ที่ต้องได้รับ
– อธิบายความรู้หลักการและทฤษฎีในรายวิชาที่เรียน โดยเน้นหลักพื้นฐานของกฎหมายแพ่งและกฎหมายเอกชน ความสัมพันธ์ของวิชากฎหมายกับศาสตร์แขนงอื่นๆ การใช้การตีความกฎหมาย การอุดช่องว่างกฎหมาย หลักผู้ทรงสิทธิในกฎหมาย ประเภทของสิทธิ การใช้สิทธิ การเปลี่ยนแปลง การโอน และการระงับซึ่งสิทธิ หลักฐานแห่งสิทธิ เป็นต้น (2.1)
(2) วิธีการสอน
– การบรรยายโดยใช้ปัญหานำและตามด้วยการแก้ปัญหา
– การอภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
(3) วิธีการประเมินผล
– การมีคำถามท้ายชั่วโมงให้นักศึกษาตอบคำถามในแนวการวิเคราะห์ในปัญหาข้อเท็จจริง
– การทดสอบในการสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ทักษะทางปัญญา
(1) ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
– ใฝ่เรียนใฝ่รู้หลักการและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3.1)
– สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (3.2)
– มีทักษะในการคิดเชิงเหตุผลและการคิดแบบองค์รวม (3.3)
(2) วิธีการสอน
– การบรรยายและอภิปรายแสดงความคิดเห็น การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
(3) วิธีการประเมินผล
– แบบฝึกหัดและทดสอบย่อย
– การสอบกลางภาคและปลายภาค
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
– ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก (4.1)
– มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีสำนึกสาธารณและมีจิตอาสา (4.5)
(2) วิธีการสอน
– การบรรยายและอภิปรายการนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
(3) วิธีการประเมินผล
– การให้คะแนนการอภิปราย และการนำเสนอ
– การสอบกลางภาคและปลายภาค
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
– สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การใช้งาน (5.1)
– สามารถสรุปประเด็น และสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียนและเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอได้ถูกต้องเหมาะสม (5.3)
– สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ (5.4)
(2) วิธีการสอน
– การอภิปราย การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
(3) วิธีการประเมินผล
– การให้คะแนนการอภิปราย และการนำเสนอ
– การสอบกลางภาคและปลายภาค
หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ ที่ | หัวข้อ/รายละเอียด | จำนวนชั่วโมง(บรรยาย/ปฏิบัติ/ฝึกงาน) | กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้ (ถ้ามี) | ชื่อผู้สอน |
1 | แนะนำรายวิชาเบื้องต้น อธิบายความหมายของกฎหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย กับ ข้อบังคับที่คล้ายคลึงกับกฎหมาย 1. กฎหมายและศาสนา 2. กฎหมายกับศีลธรรม 3. กฎหมายกับจารีตประเพณี | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็น | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
2 | – ข้อแตกต่างระหว่างหลักธรรมศาสตร์ ของกฎหมายแองโกลแซกซอนกับหลักธรรมศาสตร์ของกฎหมายภาคพื้นยุโรป – วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็น | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
3 | ประวัติของระบบ Civil Law ประวัติของระบบ Common Law การเปรียบเทียบระหว่างระบบทั้งสอง | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็นทำแบบฝึกหัด | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
4 | ที่มาของกฎหมาย – กฎหมายลายลักษณ์อักษร – กฎหมายจารีตประเพณี | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็น ทำแบบฝึกหัด | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
5 | วิวัฒนาการแห่งกฎหมาย – วิวัฒนาการแห่งกฎหมายไทย – วิวัฒนาการแห่งกฎหมายต่างประเทศ ลักษณะของกฎหมาย | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม และมอบหมายงาน | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
6 | ความคิดในทางกฎหมาย 1. ความคิดในทางกฎหมายโรมัน 2. ความคิดในทางกฎหมายธรรมชาติ 3. ความคิดในทางกฎหมายประวัติศาสตร์ | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม และมอบหมายงาน | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
7 | 4. ความคิดของสำนักกฎหมายที่เคร่งครัด 5. ความคิดในทางกฎหมายของสำนักกฎหมาย อิสระ 6. ความคิดในทางกฎหมายของสำนักกฎหมาย ที่เป็นระเบียบ | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม และมอบหมายงาน | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
สัปดาห์ ที่ | หัวข้อ/รายละเอียด | จำนวนชั่วโมง(บรรยาย/ปฏิบัติ/ฝึกงาน) | กิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้ (ถ้ามี) | ชื่อผู้สอน |
8 | กฎหมายตามแบบพิธี ตามเนื้อความขอบเขตที่กฎหมายจะใช้บังคับ กฎหมายใช้บังคับกับ บุคคลใดวันเริ่มใช้และวันสิ้นสุดแห่งการใช้กฎหมาย | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็น ทำแบบฝึกหัด | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
9 | – กฎหมายที่เป็นบทบังคับและไม่ใช่บทบังคับ – บทกฎหมายที่เคร่งครัดและบทกฎหมายที่ยุติธรรม | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
10 | กฎหมายทั่วไปและกฎหมายพิเศษ กฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์และข้อยกเว้นการใช้ กฎหมายแก่ข้อเท็จจริง | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
11 | การตีความกฎหมาย – การตีความตามเจตนารมณ์ – การตีความตามตัวอักษร | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็น ทำแบบฝึกหัด | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
12 | การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย – หลักจารีตประเพณี – หลักกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง – หลักกฎหมายทั่วไป | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
13 | หลักสุจริต มาตรา 5 มาตรา 6-14 | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
14 | หลักสุจริต มาตรา 5 มาตรา 6-14 (ต่อ) | 3(3/3-0-0) | บรรยาย pwp อภิปราย ซักถาม แสดงความเห็น ทำแบบฝึกหัด | ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล |
15 | สรุปสาระสำคัญก่อนสอบและนำเสนอรายงาน | 3(3/3-0-0) | อภิปราย ซักถาม และนำเสนอรายงาน | ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย |
รวม | 45(45/45-0-0) |
